วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555




ทฤษฎีการเรียนรู้  ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก 2 กลุ่ม คือ

 1. กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism)

 2. กลุ่มความรู้ (Cognitive)

ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง ทอนไดค์ (Thorndike) เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ

1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)

2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)

3. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)

หลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ

1.หลักการจูงใจ

2.การพัฒนามโนทัศน์

3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี

4.การจัดระเบียบประสบการณ์

5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ

6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ

7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน

8.ความชัดเจน

9.การถ่ายโยงที่ดี

10.การให้รู้ผล การเรียนรู้จะดีขึ้น



การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา


                การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ประการ คือ

1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้

2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป

3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ

4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความคับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย



ทฤษฎีการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

แนวคิด

                1. กลุ่มทฤษฎีสารสนเทศส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มนักคิดรุ่นแรกที่เสนอแนวคิดหลักที่เน้นหนักเกี่ยวกับประเภท องค์ประกอบและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ทฤษฎีหลัก คือ ทฤษฎีสารสนเทศ และทฤษฎีระบบข้อมูลข่าวสาร

                2. ทฤษฎีที่เชื่อว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นตัวกำหนดหรือชี้นำสังคม ตลอดจนวัฒนธรรม

                3. กลุ่มนักคิดทฤษฎีที่เชื่อว่าสังคมและวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต่างเห็นว่าเทคโนโลยีเป็นเพียงกลไกหรือเครื่องมือที่มนุษย์ใช้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสังคมตามที่มนุษย์ต้องการ
                4. กลุ่มทฤษฎีบูรณาการที่สำคัญ ได้แก่ ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อสื่อ และทฤษฎีการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร


กลุ่มทฤษฎีสารสนเทศ 
กลุ่มทฤษฎีสารสนเทศ (Information  Theories) ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนักเทคโนโลยีสารสนเทศ และเป็นกลุ่มนักคิดรุ่นแรกที่เริ่มเสนอแนวคิดหลักที่เน้นหนักเกี่ยวกับประเภท  องค์ประกอบ  และศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ  เช่น องค์ประกอบ  การพัฒนาการ รูปลักษณ์ ตลอดจนสิ่งต่าง ๆ หรือศักยภาพที่เทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ๆ สามารถทำได้  ประเด็นสำคัญของกลุ่มทฤษฎีกลุ่มนี้อาจแบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎีหลัก ๆ คือ ทฤษฎีสารสนเทศ (The Information Theory)  และทฤษฎีระบบข้อมูลข่าวสาร (The Information)


กลุ่มทฤษฎีเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นตัวกำหนดหรือชี้นำสังคม


กลุ่มนักคิดของทฤษฎีนี้มีความเห็นว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังคม และวัฒนธรรมต่างล้วนมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงซึ่งกันและกันได้  เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร 


                "ทฤษฎีสื่อคือผู้กำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ" (McLuhan's Media Law Theory) หรือ กลุ่มนักทฤษฎีที่เชื่อว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นตัวกำหนด โดยแนวคิดนี้ประกอบด้วยกฎเกณฑ์หลัก ๆ ที่เกี่ยวข้อง 4 ข้อคือ

(1) กฎแห่งความรีบเร่ง (Law of acceleration     


(2) กฎแห่งความล้าสมัย (Law of obsolescence)


(3) กฎแห่งการหลอมรวม หรือการบูรณาการสื่อ (Law of synthesis or convergence)


(4) กฎแห่งการสืบค้น (Law of retrieval)